การดูแลตาของตัวเอง

การดูแลตาของตัวเอง

บทความโดย: ภาสันต์-สุระพันธ์ ภาสุระพันธ์

การดูแลตาของตัวเอง
 
เชื่อหรือไม่ว่า 1 วันคนเรากระพริบตามากกว่า 17000 ครั้ง อีกทั้งการใช้สายตานั้นกินพลังงานสมองถึง 65%
 
 
Tips
 
จากประสบการณ์ที่โชคดีการแว่นสะสมมามากกว่า 60ปี เราได้ สรุป tips เล็กน้อย ที่เราสามารถทำได้เพื่อดูแลและตรวจสอบการมองเห็นของเราเองอย่างคร่าวๆ
 
 
1.หมั่นตรวจตาอยู่เสมอ
 
การตรวจตา นั้นก็เหมือนการตรวจสุขภาพ ที่มีการตรวจเลือด ตรวจกราฟคลื่นหัวใจ ค่าตับ และค่าต่างๆ สายตาของเราเหมือนกัน ไม่ใช่แค่ว่าทดสอบใส่เลนส์มองชัดก็พอแล้ว แต่การตรวจตานั้นมีมากกว่านั้น
 
การตรวจตาอย่างละเอียด
 
ตรวจกล้ามเนื้อตา ว่าเรากรอกตาได้ปกติรึเปล่า เรามีตาขาตาเหล่ซ่อนเร้นมั้ย ? กำลังเพ่งและความสามารถของเราเหมือนคนปกติมั้ย? กระจกตาเรามีสภาพปกติรึเปล่า? ก็คล้ายๆกับการตรวจดูว่าค่าตับของเรายังปกติอยู่มั้ย. ตรวจหาโรคตาอย่างเช่นโรคต้อกระจก ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม.
เคยเป็นมั้ยใส่แว่นไม่เคยสบายตาสักอัน?
 
อาจจะเป็นเพราะมีอาการตาเขและตาเหล่ซ้อนเร้น 
 
 
2. ป้องกันตัวเองจากรังสี UV
 
จากสถิติที่น่าสนใจ เกือบจะ 10 %ของ มะเร็วผิวหนังนั้นเกิดมาจากมะเร็งผิวหนังของเปลือกตาเรา ผลของการที่รับรังสี UV นานๆ ไม่สามารถแก้ไขได้ โดยเฉพาะแสงจากพระอาทิตย์ รังสีUV นั้น น่ากลัวกว่าที่เราคิดมาก การที่ตาเราได้รับรังสี UV มากเกินไปสามารถทำให้เป็น
 
 
ถ้าเราได้รับรังสีUV ที่อยู่ระดับ 10 นานมากกว่า 15 นาที สามารถทำให้เราเกิดผิวไหม้หรือต้อกระจกได้
 
ใส่แว่นกันแดดเป็นการป้องกัน UV ที่ดีที่สุด
 
แต่การเลือกแว่นกันแดดต้องเลือกเลนส์ที่สามารถกัน รังสี UVได้ดี เพราะ แว่นกันแดดทั่วๆไปถ้าไม่กันรังสี UV อาจจะทำให้ ตาเราได้รับความเสียหายมากกว่าไม่ได้ ใส่แว่นเสียอีก แว่นกันแดดที่ใช้ควรจะเป็นแว่นกันแดดที่ผ่าน มาตรฐานของการกันรังสี UV (ตารังสี UV)
 
 
 
 
3. กินอาหารที่ดีและออกกำลังกาย
 
"You are what you eat หรือ กินอะไรก็ได้อย่างนั้น"
 
กินของดีๆก็ได้สุขภาพที่ดี กินของไม่ดีก็ได้สุขภาพที่แย่ อันนี้น่าจะเป็นความจริง ถ้าเราหมั่นดูแลตัวเองและกินของที่มีประโยชน์ เราจะสามารถปกป้องตัวเองจากการเสื่อมถอยของร่างกายเราได้พร้อมกับได้รับ สุขภาพที่ดี ขอกล่าวว่า สุขภาพดีๆสามารถหาซื้อได้โดยจากตัวเราเอง
 
อาหารที่ตาเราชอบนั้น จะอยู่ในหมวดอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ และ ที่มีน้ำมัน Omega. ผัก, ผลไม้, ถั่ว และ กินอาหารจำพวกปลา, ไข่ หากรับประทานอาหารจำพวกที่กล่าวมา ประมาน 2-3 ครั้ง ต่ออาทิตย์ จะเป็นการบำรุงสายตาในประมาณที่เหมาะสม. การกินต้องมีความพอเหมาะ เพราะถ้ากินมากกว่าความสามารถที่ร่างกายเราซึบซับได้ กินเท่าไหร่ ร่างกายก็ไม่สามารถ ซึบซับไปได้หมด.
 
อาหารที่ดีต่อสุขภาพตาของเรา
 
• อาหารจำพวกปลา – ปลาแซลมอน ปลาซาดีน จะมี Omega 3 อยู่สูงมากๆ
• ผลไม้ – พวก Berry ต่างๆ ลูกพรุน ลูกเกด สตอเบอรรี่ จะมีสารต้านอนุมูลอิสระเยอะ
• ผักใบสีเขียว – ผักโขม, บร๊อคโคลี่ จะมี วิตามิน ... ที่ตาเราต้องการเพื่อนำไปซ่อมแซม
• ไข่ – มีไขมันดี, lutein และ วิตามิน B สูง
• กระเทียม – ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายเราดีขึ้น และ เพิ่มความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน
• Dark ช็อคโคแลต - จะให้กิน ผักๆ ผลไม้ๆ ทุกครั้งก็อาจจะเบื่อ Dark chocolate สามารถ กินได้เป็นบาครั้ง บางคราว แต่ไม่ควรกินมาเกินไปเนื่องจาก ตัว Dark Chocolate เองมีไขมันเยอะ อยู่แล้ว
 
 
 
4. การพักผ่อนตา
 
อาจจะถือว่าเป็นการปกป้องตาของเราที่ดีที่สุด จาก แสงสีน้ำเงินก็ได้. การที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ใช้สายตามองอะไรไกลๆ นานๆ จะทำให้ กล้ามเนื้อตาทำงานมากขึ้นเป็นหลายเท่า เพราะฉะนั้น คนในยุค Digital จะไม่สามารถหนี อาการปวดตาแบบ Digital ได้เลย. การพักสายตาทุกๆ 1ชม. ประมาณ 3-5 นาทีเป็นสิ่งที่สำคัญ
 
การพักสายตาที่ดี
 
• ตั้งนาฬิกาเบรคทุกๆ1ชม. แล้วให้ออกไปเดินขึ้นลงบันได โดยไม่เอาโทรศัพท์ติดตัวไป สัก 2-3 นาที (สำหรับคนที่ใส่แว่น ถอดแว่นออกไปเข้าห้องน้ำ จะดีที่สุด)
• ท่านใดที่มีลูก ให้น้องๆเค้าเล่นได้แต่อย่าให้เกิน 45 นาที
• การเล่นคอมพิวเตอร์ทำให้เรากระพริบตาน้อยลง 66% หมั่นกระพริบตาบ่อยๆ เพื่อลดอาการตาแห้ง
• สามารถตัดเลนส์ เคลือบ Coat ที่ตัดคลื่นแสงที่ 400nm ลงไปหรือเลนส์ ตัดแสงสีน้ำเงิน เพื่อกรองแสงไม่ให้ตาเรานั้นได้รับแสงที่มีความเข้มข้นของพลังงานมากเกินไป เลนส์ตัดแสงสีน้ำเงินที่เคลือบ 2ด้านไม่แนะนำให้เอาออกไปเดินข้างนอก (อ่าน ความจริงของแสงสีน้ำเงิน)
• ขณะที่เล่นหรือทำงานอาจะพยายามให้แสงจากหลอดไฟหรือ โคมไฟส่องไปทางจอมากนักเพราะจะทำให้แสงสะท้อนเข้าตามาเกินไปแล้วทำให้เป็นต้อกระจกได้
• ท่านใดที่ทำงานเอกสาร พยายามปรับระยะ เอกสารกับจอคอมให้อยู่ระยะเดียวกัน เพื่อไม่ให้ตาเราปรับFocus บ่อย
 
 
การออกกำลังกายตา
 
การออกกำลังกายกล้ามเนื้อตา ทำให้ตาเรานั้นมีอาการล้าน้อยลง โดยใช้เวลา 1-2 นาทีเท่านั้น 
 
 
ฝึกกล้ามเนื้อแนวตั้ง
เหลือบตาขึ้นข้างบนให้มากที่สุด จากนั้น เหลือบตาลงมากที่สุด ทำแบบนี้คือ 1 ครั้งทำให้ครบ 10ครั้งแล้ว พัก 30 วินาที
 
ฝึกกล้ามเนื้อแนวนอน
เหลือบตาขึ้นข้างขวาให้มากที่สุด จากนั้น เหลือบตาไปทางซ้ายให้มากที่สุด ทำแบบนี้คือ 1 ครั้งทำให้ครบ 10ครั้งแล้ว พัก 30 วินาที
 
 
 
5. สืบประวัติเรื่องตาภายในครอบครัว
 
โรคตาบางโรคเป็นพันธุกรรม รุ่นพ่อกับแม่อาจจะไม่เป็นแต่อาจจะมาแสดงรุ่นลูก อย่างเช่นต้อหิน (อ่านต้อหินได้ที่นี่) เป็นโรคที่สืบทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ เป็นโรคที่รักษาไม่ได้ โรคตาทื่สืบทอดทางพันธุกรรม ยิ่งพบเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีที่สุด
 
โรคแพ้แสง
 
อาจจะเป็นโรคที่สามารถสืบทอดจากพันธุกรรมรุ่นต่อรุ่นได้, ทำให้ความสามารถในการมองเห็นแย่ลง และสูญเสียการแยกสีได้. เลนส์เปลี่ยนสีสามารถช่วยได้ เนื่องจากตัวเลนส์เองสามารถ กับแสง UV จากในร่มและนอกร่มได้
 
ความบกพร่องในการจำแนกสี
 
มักจะเข้าใจผิดจากคำว่าตาบอดสี ซึ่งมีสถานะภาพใกล้เคียงกัน. โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้และเป็นฌรคทางพันธุกรรม. ผู้ชายมีโอกาสเป็น ในทุกๆ 1ต่อ 10คน. ผู้หญิง มีโอกาสเกิดได้น้อยกว่าเพราะ โครโมโซม ที่ทำให้เกิดตาบอดสีจะอยู่ใน โคโมโซม Y. คนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการแยกสีแดง กับสีเขียวได้อยาก - สี น้ำเงินกับสีเหลืองจะทำให้เกิดความมึนงง
 
Retinitis Pigmentosa (ตาบอดในวัยเด็ก)
 
เป็นการสืบทอดของโรคตาที่เกิดจากการแตกตัวของยีนส์ผิดปกติทำให้เกิดอาการจอประสาทตาเสื่อม (อ่านจอประสาทตาเสื่อม). มักจะเกิดในช่วงวัยเด็ก แต่อาการผิดปกติมักจะมาแสดงอาการตอนอายุ 20 ต้นๆ. โรคนี้สามารถทำให้ผู้ป่วยตาบอดได้ในช่วงอายุ 40.
 
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้