อาการปวดหัวเรื้อรังจากสายตาเอียง

อาการปวดหัวเรื้อรังจากสายตาเอียง

อาการปวดหัวจากเรื้อรังจากสายตาเอียง

บทความโดย: ภาสันต์-สุระพันธ์ ภาสุระพันธ์

 

สาเหตุ

อาการปวดตัวปวดหัวมักเป็นปัญหายอดฮิตของคนทำงานสมัยนี้ บ้างก็ไปหาหมอ บ้างก็หายามารับประทานเองบ้าง แต่ปัญหานี้ก็ไปๆมาๆ ไม่หายซักที ซึ่งการรับประทานยาอาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยไม่รู้ว่าปัญหาที่แท้จริงนั้นเกิดมาจากปัญหาสายตาโดยตรง ถ้าเราสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด เชื่อหรือไม่ว่า อาการเหล่านี้สามารถหายได้เป็นปลิดทิ้ง

 

 

อาการปวดหัวจากสายตาต่างๆ

ถ้าปวดหัวจากอาการสายตา มักจะเกิดขึ้นกับสายตายาว และสายตาเอียง เพราะสายตา 2 กลุ่มนี้มักจะใช้กำลังเพ่งที่ค่อนข้างเยอะ

1. สายตาเอียง เนื่องจากเห็นเป็นภาพซ้อน จึงทำให้มองภาพไม่ชัดทั้งระยะไกลและใกล้ ภาพจะชัดก็ไม่ชัด เหมือนเรามองได้ภาพที่คมชัดได้เพียง 80%  คนกลุ่มสายตาเอียงมักจะมีอาการปวดที่หน้าผาก เพราะบุคคลที่สายตาเอียงไม่มาก อย่างเช่น เอียงซ่อนเร้นที่ไม่เกิน -1.00 D สามารถเอาชนะได้โดยการเพ่ง และจะเพ่งโดยไม่รู้ตัวตลอดเวลาครับ พอเพ่งแล้วจะได้ความคมชัด 100 % 

พอตกช่วงเย็นๆ เมื่อใช้สายตามามากๆ จะทำให้ปวดหัวได้ เพราะทั้งวันเราใช้พลังงานในการเพ่งมาโดยตลอด บางครั้งเราก็แปลกใจทำไมเรา นอนเต็มอิ่ม สุขภาพดีไม่ได้เจ็บป่วยอะไร แต่ทำไมปวดหัวไม่หาย ที่ผู้เขียน (สุระพันธ์) เจอบ่อยๆ จากเคสของร้านหลายพันเคส หลายๆท่านคิดว่าตัวเองสายตาดีมาตลอด แต่ไม่เคยตรวจครับ เลยไม่รู้ตัวครับว่าตัวเองมีสายตาเอียง หลังจากตัดแว่นแก้ไขแล้ว อาการปวดหัวปวดคอบ่าไหล่ ลดลงประมาณหนึ่งเลย แต่แว่นเป็นเพียงตัวช่วย ปัจจัยหลักคือการใช้สายตาครับ อย่างไรก็ตามทุกๆชั่วโมง ควรพักสายตาอย่างน้อย 1 นาที

2. สายตายาว ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาที่การมองระยะใกล้ ทำให้ต้องใช้การเพ่งมากกว่าปกติ ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดที่ขมับและท้ายทอย 

บุคคลประเภทนี้จะเห็นภาพชัด 80 %เสมอ คล้ายๆกับคนที่มีสายตาเอียง คนที่สายตายาวระยะไกลจะได้เปรียบคนที่สายตาสั้น เพราะเพียงแค่เพ่ง ภาพจะกลับมาคมชัด ได้เกือบ 100 % ครับ (เฉพาะคนที่สายตายาวระยะไกลซ่อนเร้นที่ตรวจวัดละไม่เกิน +1.00 D แต่จะชอบมีอาการปวดหัวตอนเย็นๆ และอ่านหนังสือนานๆไม่สบายตา) บุคคลสายตายาวระยะไกลซ่อนเร้นจะไม่ชอบอ่านหนังสือครับ

3. ถ้าสายตาปกติ แล้วยังมีอาการปวดหัวให้สังเกตดูว่าใช้สายตาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เกิน 8 ชมต่อวันไม่ เพราะสามารถทำให้ระบบการปรับ focus ระยใกล้ของดวงตาอ่อนล้า ส่วนใหญ่มักจะปวดที่ขมับและกระบอกตา และเกิดในช่วงเย็นเสมอ เมื่อได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ชาร์ตแบตให้ดวงตา ก็จะกลับมามองเห็นได้ปกติครับ 

 

 
การป้องและรักษาได้อย่างไรบ้าง ?
 

 

การป้องกัน

การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การไปตรวจสายตากับนักทักศนมาตรเป็นประจำทุกปี ก็จะทำให้เราสามารถรับรู้ถึงสุขภาพของดวงตา ณ ขณะนั้นได้ ควรพักผ่อนให้เพียงพอก่อนไปตรวจสายตาครับ และถ้าเป็นไปได้ให้ไปตรวจช่วงเช้าถึงเที่ยงจะดีกว่าช่วงเย็น เพราะช่วงเย็นจะเป็นช่วงที่ตาดวงอ่อนล้ามาทั้งวันแล้วทำให้ตรวจสายตาแล้วอาจจะคลาดเคลื่อนเล็กน้อย

 

การรักษา

1. คนที่มีอาการสายตายาวและเอียง สามารถแก้ไขได้โดยแว่นสายตา หรือคอนแทคเลนส์

2. ในกรณีที่สายตาปกติและยังปวดหัว ให้ทำการพักสายตา ทุกๆ 30 - 60 นาที แล้วแต่การทำงานและอาชีพของบุคลลนั้นๆ หรือ มองไปที่บริเวณไกลนอกห้องบริเวณที่มีวิวต้นไม้ หรือธรรมชาติเป็นการผ่อนคลายสายตาและกล้ามเนื้อตาที่ใช้ในการเพ่ง 

ผู้เขียนแนะนำว่า หากเราสามารถพักสายตาได้ทุกๆชั่วโมง การถอดแว่นทำงานบนโต๊ะ ทิ้งโทรศัพท์ไว้และไปเข้าห้องน้ำเดินยืดเส้นยืดสาย จะดีที่สุดครับ

3. ถ้ามีความจำเป็นที่ใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่มีการพัก ก็อาจพิจารณาใช้เลนส์ลดตาเหนื่อย (Anti-Fatigue) ช่วย ซึ่งเลนส์เหล่านี้มีการลดกำลังสายตาในการมองระยะใกล้เพื่อลดภาระในการเพ่งของกล้ามเนื้อตา อย่างไรก็ตามเลนส์อาจะช่วยบรรเทาแต่ไม่สามารถแก้ไขได้ 100% (บรรเทาได้เท่านั้น)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้