ภาวะตาขาดออกซิเจน

ภาวะตาขาดออกซิเจน

ภาวะตาขาดออกซิเจน

 

บทความโดย: สุระพันธ์ ภาสุระพันธ์ 

ตรวจทานและเขียนร่วม: พลอยชมพู ภาสุระพันธ์, Optometrist

คอนแทคเลนส์ทำให้ออกซิเจนซึมผ่านได้ไม่เต็มที่


การใส่คอนแทคเลนส์นานๆนั้น เหมือนกับการที่เราใส่หน้ากาก ทำให้เราหายใจไม่สะดวก คนที่ใส่หน้ากากทุกวัน มักจะมีอาการเพลียเนื่องจากร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ ปกติเราสามารถหายใจโดยผ่านทางจมูกหรือทางปาก ถ้าเราหายใจทางจมูกไม่ทัน เราจะหายใจทางปากด้วย เหมือนตอนเราออกกำลังกาย

 

 

กระจกตาเป็นอวัยวะที่เดียวที่ไม่มีเส้นเลือดไปเลี้ยง  
เพราะฉะนั้นต้องรับออกซิเจนจากสองที่ 


ที่แรก
1.โดยตรงจากอากาศรอบตัวแพร่ผ่านชั้นน้ำตาของเรา

 
ที่สอง
2.น้ำเลี้ยงในตาจากด้านในลูกตา ที่เกิดจากการที่ร่างกายกรองเลือดของเราให้เป็นน้ำในช่องลูกตา

เมื่อเราเอาคอนแทคเลนส์ไปวางใส่บนกระจกตาทำให้กระจกตาของเรารับออกซิเจนจากอากาศได้ไม่เต็มที่



อาการตาขาดออกซิเจนจากการใส่คอนแทคเลนส์ที่เห็นได้

1. รู้สึกตาแห้งและมีอาการตาล้าบ่อยขึ้น (รู้สึกตาแห้งบ่อยและเร็วมากขึ้นเมื่อใส่คอนแทคเลนส์ เนื่องจากเซลล์ขาดออกซิเจนและขาดน้ำ ต้องหยอดน้ำตาเทียมบ่อยขึ้น เนื่องจากตาต้องการน้ำตาเพื่อนำพาออกซิเจนไปให้กระจกตามากขึ้น)

2. ตาแดงเร็วขึ้น ตาขาวของเราจะมีเส้นเลือดปุดขึ้นรอบๆตาเยอะเวลาใส่คอนแทคเลนส์ เนื่องจาก กระจกตาเริ่มขาดออกซิเจน ร่างกายก็จะยิ่งพาเลือดมาใกล้ๆกระจกตามากขึ้น เพื่อส่งอากาศไปเลี้ยงกระจกตาแพร่ผ่านชั้นน้ำตาของเรา 

แล้วถ้าตาเราขาดออกซิเจนนานๆติดต่อกันจะเกิดอะไรขึ้น!!! 



1.รู้สึกตามัว เนื่องจาก กระจกตาบวมสูญเสียความใสในการมองเห็น



หากกระจกตาได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้กลไกการควบคุมปริมาณน้ำเข้าออกของกระจกตาทำงานบกพร่อง กระจกตาเกิดการบวมน้ำและสูญเสียความใสทำให้กระจกตาขุ่นได้ เมื่อกระจกตาขุ่นจะเหมือนเรามองผ่านกระจกขุ่น ภาพจะมัวไม่ชัดไม่สดใส

 

2. เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อที่กระจกตา เนื่องจาก ระบบป้องกันตัวเองของกระจกตาอ่อนแอลง

เมื่อกระจกตาขาดออกซิเจน จะส่งผลให้โครงสร้างในการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่กระจกตาอ่อนแอลง ทำให้เชื้อโรคร้ายสามารถทะลุทะลวงเข้ามาทำร้ายกระจกตาเราได้ง่ายขึ้น

3. สูญเสียความใสของกระจกตาถาวรโดยเริ่มจากบริเวณรอบข้างกระจกตา เนื่องจาก มีเส้นเลือดงอกเข้ากระจกตาถาวร



เมื่อกระจกตาขาดออกซิเจน ร่ายกายของเราจะพยายามหาออกซิเจนจากทุกวิถีทางให้กระจกตา และสุดท้ายร่างกายจำเป็นต้องสร้างเส้นเลือดใหม่งอกเข้าสู่กระจกตาเพื่อนำพาออกซิเจนผ่านทางเลือดมาให้กระจกตา แต่ปกติกระจกตาเป็นอวัยวะที่ไม่ต้องการเส้นเลือดเพราะต้องการความใส เมื่อร่างกายสร้างเส้นเลือดใหม่ให้กระจกตาในภาวะผิดปกติ เส้นเลือดใหม่นี้จะไม่มีวันหายไป และทำให้ความใสของกระจกตาของเราลดน้อยลงอย่างถาวร เส้นเลือดนี้จะค่อยๆงอกจากบริเวณรอบๆกระจกตาและลุกลามเข้ากลางกระจกตา ระดับความยาวขึ้นอยู่กับระดับการขาดออกซิเจน ยิ่งขาดออกซิเจนมาก เส้นเลือดงอกเข้ายิ่งยาว กระจกตาจะยิ่งขุ่น

 

ความเข้มข้นของออกซิเจน

อ้างอิงจาก อาจารย์ คนโนะ เซชิ, โดยปกติแล้ว เราต้องได้รับออกซิเจนที่ 21% เราจะสดชื่น แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าลดลงเหลือ 20% จะเริ่มมีอาการเพลีย สาเหตุเพราะร่างกายเราขาดออกซิเจน ในรถไฟฟ้าที่แออัด ออกซิเจนจะเหลืออยู่ประมาณ 18% ไม่ต้องสงสัยเลยทำไมเวลาเราออกจากรถไฟฟ้าแล้วเรารู้สึกสบาย เคยสังเกตุมั้ยว่าเวลาเราอยู่บนรถไฟฟ้าเรามีอาการเพลียเร็วขึ้น ? นั้นเป็นเพราะ เราขาดออกซิเจน นั้นเอง

 

ระดับความรุนแรงอาการ
แรกกระจกตาเป็นแผลทำให้ใส่คอนแทคเลนส์แล้วเจ็บตาขึ้นมาทันที
กลางเซลล์บนกระจกตาจะค่อยๆตายไป เนื่องจากขาดออกซิเจนต่อเนื่องทำให้ซ่อมแซมไม่ทัน
รุนแรงเนื้อกระจกตาบวม ทำให้การมองเห็นแย่ลง จะเห็นหลอดไฟเป็นสีรุ้งๆ
วิกฤตเนื้อเยื่อและเซลล์บนกระจกตามีโอกาสตายลงและทำให้ สูญเสียการมองเห็นได้

 

ตาแดง กับ คอนแทคเลนส์

ตาแดงนั้นมีหลายปัจจัย ช่วงแรกๆที่ใส่คอนแทคเลนส์อาจจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ระยะหลังเริ่มมีอาการเคืองตา สาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากตาขาดออกซิเจน

 

สาเหตุอื่น

 

1. เราขยี้ตาบ่อยเนื่องจาก มีฝุ่นเกาะตาเรา หรือ ระคายเคืองตาเนื่องจากคอนแทคเลนส์ชำรุด

2. ใส่คอนแทคเลนส์ผิดSize เช่น คับหรือหลวมเกินไป

3. เนื้อวัสดุนั้นอาจจะไม่เหมาะกับตาของเรา เหมือนกับบางคนที่แพ้ครีมทาผิวของบางยี่ห้อ อย่างเช่นบางคนแพ้ Silicone Hydrogel แต่เข้ากับ Hydrogelได้มากกว่า

4.แพ้น้ำยาแช่ล้างคอนแทคเลนส์ หากหลังแช่เลนส์แล้วหยิบมาใส่เกิดอาการตาแดงแสบตาเล็กน้อยซักพักจึงหาย อาจมีการแพ้สารกันเสียที่ผสมอยู่ในน้ำยาแช่ล้างคอนแทคเลนส์ ควรเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่นที่มีส่วนผสมต่างกัน

5.มีการติดเชื้อที่ดวงตา หากมีอาการตาแดง รู้สึกแพ้แสง ร่วมกับมีขี้ตาสีเหลืองหรือสีเขียว ควรรีบพบจักษุแพทย์โดยเร่งด่วน เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อที่กระจกตา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้