แสงสีน้ำเงิน

แสงสีน้ำเงิน

 ความจริงของแสงสีน้ำเงิน

1. แสงสีน้ำเงินนั้นมีอยู่ทุกที

 

ไม่ว่าเราจะอยู่ตรงไหนแสงสีน้ำเงินนั้นมีอยู่ที่ เวลาเราอยู่ข้างนอกที่กลางแจ้ง เราเจอแสงสีน้ำเงินจากแสงพระอาทิตย์ แต่เวลาเราเข้ามาอยู่ในตัวตึก เราก็ยังเจอแสงสีน้ำเงินอยู่ดี ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์ อย่างเช่น จอคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์ และแสงหลอดไฟ LED

 

 

2. เราเห็นท้องฟ้าสีคราม เพราะแสงสีน้ำเงิน

คลื่นสั้นของแสง เป็นคลื่นที่มีความเข้มข้นของพลังงานสูง ซึ่งอยู่แถวๆ แสงสีน้ำเงิน และ Ultra-Violet (UV)

 

 

3. ตาของเราไม่สามารถป้องปกตัวเองจากแสงพลังงานได้ทั้งหมด

โดยปกติ กระจกตาของเลนส์ตา มีความสามารถในการปกป้องเราจากแสงUV ได้ตัวมันเองอยู่แล้ว ถึงแม้ไม่ได้ใส่แว่นกันแดดก็สามารถป้องกันแสง UV ได้ แต่ว่ากับแสงสีน้ำเงิน ที่กระจกตากับเลนส์ตาไม่สามารถปกป้องได้หมดเท่านั้นเอง

 

 

4. แสงสีน้ำเงินทำให้เราเล่นคอมพิวเตอร์แล้วปวดตา

เนื่องจากแสงสีน้ำเงินเป็นแสงที่มีความเข้มข้นของพลังงานสูง ทำให้ภาพไม่คมชัด ทำให้การมองภาพระยะใกล้นั้นต้องใช้การเพ่งมากขึ้น เพื่อหาจุดโฟกัสภาพที่ดีที่สุด

 

5.หลังจากผ่าต้อกระจก ดวงตาต้องได้รับการปกป้องอย่างเต็มที่

 

เนื่องจากเลนส์ตาของเราเป็นเลนส์อันใหม่เป็นของที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพจึงไม่สามารถสู้เลนส์ตาที่มาจากธรรมชาติได้ 100%

 

6.แสงสีน้ำเงินไม่ได้แย่ไปซะทีเดียว

 

จากการวิจัย มนุษย์เรายังต้องการแสงสีน้ำเงินอยู่ แล้วใช้หลายๆเรื่องด้วย เคยสังเกตมั้ยวันไหน ฝนตกเราอยากนอนต่อไม่สดชื่น นั้นเพราะแสงสีน้ำเงินที่หายไปนั้นเอง ตารางข้างล่างจะสรุปข้อดีข้อเสีย

 

แสงสีน้ำเงินดี (Good Blue)
 
1. ช่วยทำให้เราสดใส สดชื่น
2. ช่วยในการจำ
3. ช่วยเสริมกระบวนการคิดกับสร้างอารมณ์
 
 
แสงสีน้ำเงินอันตราย (Bad Blue)
 
1. รบกวนการทำงานของร่างกายเรา 
2. ทำให้ระบบการนอนของเรามีการเปลี่ยนแปลง 
3. ทำลายจอประสาทตาในระยะยาว

 

ทุกๆอย่างมีทั้งข้อดีกับข้อเสีย เราจึงต้องเลือกใช้แต่สิ่งที่ดี ส่วนที่ไม่ดีเราก็แค่หลีกเลี่ยงมันโดยการปกป้องเท่านั้นเอง

 

ข้อมูลทางเทคนิคของแสงสีน้ำเงิน

 

 
แสงที่มองเห็นและความยาวของคลื่น

แสงที่เรามองเห็นนั้นมีอยู่ 7สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ซึ่งการมองเห็นของแต่สีจะอยู่ความยาวของคลื่นแสงและปริมาณพลังงานของตัวแสงเอง (อย่างที่ได้ยินว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) เมื่อเอาทุกแสงมารวมกัน ก็จะเกิดแสงสีขาว หรือแสงพระอาทิตย์
ในทาง ฟิสิกส์ แสงสีที่ความยาวของช่วงคลื่นมาก ความเข้มข้นของพลังงานจะน้อย และแสงที่ความยาวของคลื่นสั้น ความเข้มข้นของพลังงานจะสูง

 

ความเข้มข้นของพลังงานแสง

ยกตัวอย่างเช่น แสงสีแดงอยู่ในช่วงที่ความยาวของคลื่นแสงสูง เพราะฉะนั้น ความเข้มข้นของพลังงานจะต่ำ ในทางตรงกันข้าม แสงสีน้ำเงิน และแสงสีม่วง มีความยาวของคลื่นสั้น เพราะฉะนั้นพลังงานจะสูง
คลื่นแสงที่ยาวกว่าแสงสีแดง จะเรียกว่าแสงอินฟาเรด ซึ่งเป็นแสงที่แผ่รังสีความร้อน (อย่างเช่น โคมไฟร้อนที่เอาไว้ส่องอาหาร) เป็นแสงที่ตาเปล่ามองไม่เห็น ในทางตรงกันข้าม แสงที่ตาเรายังมองเห็น แสงสีน้ำเงินที่อยู่ในช่วงคลื่นสั้นที่สุด และบางครั้งถูกเรียกว่าแสง ยูวี UV เป็นแสงที่มีความเข้มข้นของพลังงานสูง. ความยาวคลื่นที่สั้นกว่า 380 นาโนเมตร จะเรียกว่า คลื่นแสง UV

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้