ตาขี้เกียจ

ตาขี้เกียจ

บทความ: ภาสันต์-สุระพันธ์ ภาสุระพันธ์

ตรวจทาน: พลอยชมพู ภาสุระพันธ์ , O.D

 

ตาขี้เกียจ (Amblyopia-แอมบิลโอเปีย)


 อาการที่สายตา 1 ข้าง (หรืออาจเป็นทั้งสองข้างก็ได้ แต่ส่วนมากมักเกิดกับตาข้างเดียว) ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


"ตัวอย่าง: ตาขวามองชัด 100% แต่ตาซ้ายมองได้ชัดแค่ 60%"

 

         เนื่องมาจากสมองส่วนที่แปลผลภาพจากตาข้างที่ขี้เกียจนั้นไม่ได้รับกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ว่าภาพชัดเป็นอย่างไรในสมัยเด็ก ส่งผลทำให้สมองจดจำและใช้ตาเพียง1ข้างที่มองได้ชัดกว่าในการมองเห็น ตาขี้เกียจสามารถแก้ไขได้ดีถ้าตรวจพบก่อนอายุ 8 ขวบ หากเลยจากวัยนี้ไปแล้วหรือตรวจพบในวัยผู้ใหญ่จะไม่สามารถแก้ไขได้เพราะสมองได้จดจำและปลูกฝังให้ใช้ภาพจากตาข้างเดียวไปแล้ว การตรวจเจอก่อนวัย 8 ขวบ การแก้ไขมักจะทำโดยแก้ไขสาเหตุที่ทำให้ตามองไม่ชัด เช่น ปัญหาค่าสายตาด้วยแว่นตาเพื่อให้เกิดภาพชัด(แต่ตอนนี้สมองยังไม่เห็นความชัดต้องได้รับการกระตุ้นให้เรียนรู้ก่อน) หรือ สาเหตุอื่นๆที่ทำให้ตาข้างนั้นมองไม่ชัด ร่วมกับทำกายภาพบำบัดตาให้ตาข้างที่ขี้เกียจถูกใช้งานให้หนักเพื่อกระตุ้นระบบไปยังสมองว่าให้ใช้ตาข้างที่ขี้เกียจร่วมมองด้วย

 

เข้าใจการพัฒนาการของสายตาตั้งแต่เราเกิด

 

         เด็กที่เพิ่งเกิดสามารถมองเห็นได้ปกติ แต่ความสามารถในการโฟกัสในรายระเอียดย่อยนั้นยังมีข้อจำกัด แต่เมื่อเด็กๆโตขึ้นสมองกับสายตาจะพัฒนาไปควบคู่กัน สมองเรานั้นจะเรียนรู้และแปลงสัญญาณจากการมองเห็นให้เป็นภาพขึ้นมา การพัฒนาสายตาและคำสั่งที่ส่งไปให้สมองแปลงสัญญาณออกมาเป็นภาพนั้นจะหยุดพัฒนาตอนช่วงอายุ 7-8 ปี ถ้าเลยจากวัยนี้ไปแล้วการแปลงสัญญาณจากสิ่งที่มองเห็นด้วยตาที่ส่งไปยังสมองจะไม่มีการพัฒนาต่อ เนื่องจากสมองเข้าใจว่าสัญญาณภาพได้พัฒนาสมบูรณ์ไปแล้ว

 

         ถ้าเด็กๆ ใช้ตาข้างเดียวมอง สมองจะจดจำว่าจะใช้ตาข้างนี้มองเป็นหลักแล้วจะพยายามไม่ใช่ตาที่ด้อยในการมอง ส่งผลทำให้ตาข้างที่ด้อยกว่าไม่ได้ใช้งาน เมื่อตา 2 ข้างไม่ทำงานร่วมกัน เนื่องมากจากสมองเลือกใช้งานในตาข้างที่มองได้ชัดกว่าเพียงข้างเดียว เรียกภาวะนี้ว่า ตาขี้เกียจ

 

สาเหตุ

 

Squint (Strabimus) ตาเหล่


1.1) เกิดจากตา2ข้างไม่ได้มองไปยังทิศทางเดียวกัน ยกตัวอย่าง ตาข้างขวามองตรงไปข้างหน้า แต่ตาข้างซ้ายมีอาการตาเข หรือ เหล่ เบนออกไปทิศทางอื่น 

1.2) ถ้าตา2ข้างมองไปยังคนละทิศทาง สมองจะพยายามแก้ไขปัญหาโดยการเลือกละตัดสัญญาณรบกวน เพราะตอนนี้ เนื่องจากสมองเรามองเห็น 2 ภาพทำให้เกิด ภาพซ้อนกัน สมองจะเลือก ภาพจากตาที่มองวัตถุได้ดีกว่า ส่งผลทำให้สมองตัดสัญญาณ จากตาที่ไม่ได้มองวัตถุ ทำให้ตาข้างนั้นเป็นตาขี้เกียจ พอสมองตัดสัญญาน ทำให้ตาอีกข้างไม่ได้พัฒนาไปพร้อมกับสมอง

1.3) อาการ squint นั้นมักเกิดในวัยเด็กและเป็นช่วงสำคัญที่สมองกำลังเรียนรู้การแปลงสัญญาณการมองเห็นไปยังสมอง

1.4) ยังมีเคสที่ตา 2 ข้างดูปกติ มองตรง และไม่มีอาการตาเขหรือตาเหล่เลย แต่ว่า สมองเลือกใช้สัญญาณภาพจากตาข้างที่มองเห็นวัตถุได้ชัดกว่า และ ไม่ใช้สัญญาณภาพจากตาที่ด้อยกว่า ส่งผลทำให้ ตาขี้เกียจไป 1 ข้าง ในบางราย เมื่อนานวันเข้า อาจเกิดอาการตาเหล่ในข้างที่เป็นตาขี้เกียจตามมา

 

ตาขี้เกียจเกิดขึ้นบ่อยมั้ย ?

 

จากการวิจัยใน อเมริกา, 1ในเด็ก 25 คน จะมีอาการตาขี้เกียจ

 

เราจะตรวจเจอตาขี้เกียจได้อย่างไร

 

ตาขี้เกียจจะสามารถตรวจเจอจากการตรวจสายตาเท่านั้นเราไม่สามารถมองเห็นจากตาเปล่าได้

“ตาขี้เกียจจะสามารถตรวจสอบเจอได้เมื่อได้รับการตรวจตา”

การตรวจตาเด็กๆทุกๆ 1 ปี นั้นสำคัญมากครับ เพราะจะทำให้เราตรวจเจอตาขี้เกียจหรือโรคอื่นๆ ตามไปด้วย ตาขี้เกียจ ยิ่งตรวจเจอเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีครับ

 

อาการ

 

         อาการของตาขี้เกียจนั้นจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเด็กคนนี้ตาอีกข้างแสดงอาการตาขี้เกียจมั้ย จากการที่กล่าวข้างต้นคือตาของเรานั้นทำงานร่วมกัน 2 ข้าง ถ้าตาข้างนึงทำงานได้ดีแต่ตาอีกข้างนึงไม่ทำงาน สมองจะพยายามใช้แต่ตาข้างที่ดี ซึ่งจะกลับมาย้ำประโยคเดิมที่ว่า ตาขี้เกียจจะตรวจเจอได้ต่อเมื่อเด็กได้รับการตรวจสอบสมรรถภาพความสามารถของตาแต่ละข้าง



"การตรวจสอบที่ร้านแว่นจะสามารถตรวจสอบได้กับนักทัศนมาตรหรือช่างแว่นตาที่มีประสบการณ์สูง" 

 

แก้ไข

 

1. แว่นสายตา

         เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เปรียบเทียบกับการยกน้ำหนัก วิธีนี้จะคล้ายกับการให้เด็กถือของหนักกว่าปกติเพื่อกระตุ้นการทำงานของตา ทำให้ส่งสัญญานไปยังสมองว่า ตาข้างนี้กำลังกระตุ้นให้ดีเท่ากับตาอีกข้า


2. การปิดตา

         วิธีนี้จะคล้ายๆกับการที่ไม่ให้เราใช้มือข้างถนัด อย่างเช่น ถ้าเด็กคนนี้ถนัดขวา เราจะไม่ให้เค้าใช้มือขวา แต่จะฝึกให้ใช้มือซ้ายอย่างเดียวเท่านั้น จนกว่ามือซ้ายจะใช้ได้ดีเท่ามือขวา (หากมีปัญหาสายตา ต้องแก้ไขปัญหาสายตาก่อน เช่น ใส่แว่นตา)

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้