ตาบอดสี

ตาบอดสี

ตาบอดสี


บทความโดย: ภาสันต์-สุระพันธ์ ภาสุระพันธ์

ตาบอดสี เป็นภาวะที่ตามองเห็นสีผิดไปจากปกติ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่าภาวะตาบอดสีนั้นไม่สามารถเห็นสีใดได้เลย โดยทั่วไปคนตาบอดสีก็ยังที่จะสามารถขับรถ และแยกไฟเขียวแดงได้ปกติ ถ้าไดรับการสอนตั้งแต่เล็ก ว่าสีนั้นเป็นสีอะไร นอกจากนี้ตาบอดสียังเป็นภาวะที่ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับเพศชาย มากกว่า เพศหญิง เนื่องจากยีนส์ตาบอดสีจะอยู่ในโครโมโซมเพศชาย การคัดกรองตาบอดสีส่วนใหญ่จะนิยมเลือกใช้ Ishihara Test โดยจะเป็นแผ่นภาพสีต่างๆที่จะทำให้คนตาบอดสีสับสนและแยกประเภทสีไม่ได้

 

ลักษณะของตาบอดสีเป็นอย่างไร

โดยปกติทั่วไป เราจะแบ่งคนที่เป็นตาบอดสีออกเป็น 3 จำพวก

1. คนตาบอดสีชนิดแรก (แดงเขียว) จะบอกความแตกต่างระหว่าง สีแดง สีเขียว สีเหลืองได้ยาก ซึ่งพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง นอกจากนี้ตาบอดสีชนิดนี้ ยังมีความยากในการแยกโทนสีม่วงอีกด้วย อาจจะเห็นสีเข้มกว่าความเป็นจริง และบางทีอาจจะแยกความต่างระหว่างสี แดง เขียว เหลืองน้ำตาล ส้ม ไม่ได้

2. ตาบอดสีอีกจำพวกนึงที่ไม่สามารถแยกสีฟ้า เหลือง เขียว เราเรียกว่า (ตาบอดสีฟ้าหลือง) ซึ่งหาพบได้ยากได้มากกว่าชนิดแรก

3. ชนิดสุดท้าย คือตาบอดสีทั้งหมด ซึ่งจะไม่สามารถแยกโทนสีอะไรได้เลย มองภาพจะเป็นลักษณะ โทนสีขาวดำหมด

 

ตาบอดสีแก้ไขได้ไหม

เทคโนโลยีการแพทย์ปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่แก้ไขตาบอดสีได้ ส่วนใหญ่จะเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอยู่กับมันซึ่งไม่มีปัญหาอะไรกับการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่ว่ายังมีอุปกรณที่พอช่วยทำให้เห็นสีเสมือนจริงได้

ผู้คิดค้นการตรวจสอบตาบอดสี

Shinobu Ishihara (1879-1963)

 

โดยปกติทั่วไปที่โชคดีการแว่น เราจะมีการเทสตาบอดสีให้ด้วย ในกรณีที่แยกสีแดง เขียวไม่ได้ ซึ่งวิธีที่เราใช้คือ Ishihara Test เป็นรูปภาพทดสอบตาบอดสี ซึ่งถูกคิดค้นโดย จักษุแพทย์ชาวญี่ปุ่น ชื่อ Doctor Shinobu Ishihara (1879-1963) ในปี 1918 ท่านได้คิดค้นแผ่นทดสอบตาบอดสี ที่เราใช้มาจนถึงทุกวันนี้

 

การตรวจสอบ


 คนที่เป็นตาบอดสีจะไม่สามารถบอกได้ว่ารูปภาพด้านบนมีอะไรอยู่?

คนตาบอดสี มองภาพเป็นอย่างไร?

คนปกติ

 

 

ตาบอดสีแดงเขียว

 

 

ตาบอดสีน้ำเงินเหลือง

 

 

ตาบอดทุกสี

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้